สำหรับสาวๆที่รักสวยรักงามส่วนใหญ่ก็เคยทาเล็บกันมาทั้งนั้น แต่สาวๆเคยสังเกตไหมว่า ในยามที่เราอยากเปลี่ยนสีเล็บ หรือต้องการลบสีทาเล็บออกเราไม่สามารถใช้น้ำธรรมดาล้างสีทาเล็บได้ แต่ต้องใช้น้ำยาเฉพาะนั่นคือน้ำยาล้างเล็บ แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกับเรื่องนี้กันดีกว่า เพื่อสาวๆจะได้มีเล็บสีสวยๆพร้อมกับมีความรู้เรื่องน้ำยาล้างเล็บควบคู่ไปด้วย
น้ำยาล้างเล็บมีสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบสำคัญมีชื่อว่า อะซิโตน (Acetone) ผสมอยู่ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าสารเคมีตัวนี้กันก่อนนะคะ
ข้อมูลเบื้องต้น
ชื่อ : Acetone
สูตรเคมี : C3H6O
ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย
สารชนิดนี้มีความไวไฟสูง เมื่อเราได้รับสารชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระคายเคืองตา การได้รับสารนี้ซ้ำๆอาจทำให้ผิวหนังแห้งและแตก ไอของสารอาจทำให้ซึมและง่วงนอน
การปฐมพยาบาล
เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมสารเข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์, ถ้าไม่หายใจให้การช่วยหายใจ, ถ้าหายใจลำบากให้ออกซิเจน
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำปริมาณมากเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกินสารเข้าไป ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติอยู่ให้ใช้น้ำบ้วนปาก, ไปพบแพทย์
ข้อปฏิบัติการใช้และการเก็บรักษา
ข้อปฏิบัติการใช้สาร : อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป ระวังอย่าให้เข้าตา โดนผิวหนังหรือเสื้อผ้า หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายๆครั้ง
การเก็บรักษา : ปิดฝาภาชนะให้สนิท, เก็บให้ห่างความร้อน, ประกายไฟและเปลวไฟ
การละลายของสีทาเล็บในอะซิโตน
อะซิโตนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ส่วนที่มีขั้วคือหมู่คาร์บอนิล ส่วนสีทาเล็บทั่วไปที่ใช้กันอยู่มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) เรซิน โทลูอีน (Toluene) ไดบิวทิว พทาเลต (Dibutyl Phthalate) ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้มีสารที่มีสภาพขั้วเหมือนกันกับอะซิโตน ดังนั้นเมื่อผสมอะซิโตนลงไปในน้ำยาล้างเล็บ น้ำยาล้างเล็บนั้นก็สามารถล้างสีทาเล็บได้ทั้งนี้เนื่องจากน้ำยาล้างเล็บและสีทาเล็บมีสมบัติการละลายที่คล้ายคลึงกัน การที่สารชนิดหนึ่งจะละลายในตัวทำละลายหนึ่งๆได้นั้น สารทั้งสองชนิดจะต้องมีสมบัติเหมือนกันตามกฎ "Like dissolves like" นั่นคือ ตัวละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้วเป็นแรงไดโพล-ไดโพล (Dipole-Dipole) แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว ตัวอย่างเช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทางตรงข้าม ตัวละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วเป็นแรงแวนเดอร์วาลล์ (Van der Waals force) เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ละลายในเบนซีน (C6H6) แต่ไม่ละลายในน้ำ
อะซิโตนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ส่วนที่มีขั้วคือหมู่คาร์บอนิล ส่วนสีทาเล็บทั่วไปที่ใช้กันอยู่มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) เรซิน โทลูอีน (Toluene) ไดบิวทิว พทาเลต (Dibutyl Phthalate) ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้มีสารที่มีสภาพขั้วเหมือนกันกับอะซิโตน ดังนั้นเมื่อผสมอะซิโตนลงไปในน้ำยาล้างเล็บ น้ำยาล้างเล็บนั้นก็สามารถล้างสีทาเล็บได้ทั้งนี้เนื่องจากน้ำยาล้างเล็บและสีทาเล็บมีสมบัติการละลายที่คล้ายคลึงกัน การที่สารชนิดหนึ่งจะละลายในตัวทำละลายหนึ่งๆได้นั้น สารทั้งสองชนิดจะต้องมีสมบัติเหมือนกันตามกฎ "Like dissolves like" นั่นคือ ตัวละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้วเป็นแรงไดโพล-ไดโพล (Dipole-Dipole) แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว ตัวอย่างเช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทางตรงข้าม ตัวละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วเป็นแรงแวนเดอร์วาลล์ (Van der Waals force) เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ละลายในเบนซีน (C6H6) แต่ไม่ละลายในน้ำ
รูปสภาพขั้วของอะซิโตน
ดั้งนั้นเมื่อเราใช้น้ำยาล้างเล็บเช็ดทำความสะอาดสีทาเล็บ เล็บของเราก็จะสวยสะอาดตามที่สาวๆต้องการ
ที่มาของข้อมูล :
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน, 2559,จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst67-64-1.html
- วรธาร ทัดแก้ว. (2544.).ระวัง!ภัยใกล้ตัวจากยาทาเล็บ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน, 2559, จากhttp://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id=30115
ล้างเรซินที่แข็งแล้ว ได้หรือไม่ครับ
ตอบลบ