วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

สารประกอบฟีนอล

ที่มา : http://marilyn.lnwshop.com/article/14/สมุนไพรกานพลู

สารประกอบฟีนอลเป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิล (- OH) ต่ออยู่กับวงเบนซีน ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งที่พบในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ฟีนอลที่พบในธรรมชาติเช่น ยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งเป็นสารหอมระเหยซึ่งสกัดได้จากกานพลู พบได้ในร้านสปา

แหล่งที่พบสารประกอบฟีนอล

สารประกอบฟีนอล พบอยู่ในส่วนของช่องว่างภายในเซลล์ (cell vacuole) ในส่วนต่างๆ ของพืช เป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในกระบวนการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพืชแต่ละชนิด
  • ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
  •  เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว และ งา
  • ผลไม้ ได้แก่ องุ่น ส้ม กระท้อน
  • เครื่องเทศ เช่น พริกไทย พริก ขิง กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่
  • พืชเครื่องดื่ม ได้แก่ ชา โกโก้
  • พืชหัว ได้แก่ มันเทศ

ตัวอย่างของสารประกอบฟินอลที่พบตามธรรมชาติในพืช
  • จินเจอรอล (gingerol) พบใน ขิง
  • ยูจินอล (eugenol) ใน กานพลู ตะไคร้ ใบกระเพรา
  • แคปไซซิน (capsaicin) ในพริก
  • เคอคิวมิน (Curcumin) ในขมิ้น
  • แคทีชิน (catechin) ในชา


 
Methylparaben
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/File:Methylparaben.svg
Tyrosine
ที่มา : www. beherbshop.com/green_coff/ไทโรซีนตัวช่วยสำคัญของ/
นอกจากนี้ยังมีสารฟีนอลที่สังเคราะห์ขึ้นเช่น บีเอชที (BHT) และบีเอชเอ (BHA) ที่มักใช้เป็นสารกันหืนที่มีน้ำมันและไขมันเป็นองค์ประกอบ
BHT
BHA
สารประกอบฟีนอลเป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิล (- OH) และหมู่แอริล (Arly group)



ต่อกันดังโครงสร้าง 

โดยมีสูตรทั่วไปคือ ArOH โดยมีฟีนอลเป็นสารประกอบฟีนอลที่เล็กที่สุด มีสูตรโมเลกุลคือ C6H5OH
Phenol (C6H5OH)

สมบัติทางกายภาพของฟีนอล


ลักษณะของฟีนอล
ที่มา : https://dir.indiamart.com/impcat/phenol-crystal.html

ฟีนอลมีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีสมบัติเป็นกรด
สูตรเคมี : C6H5OH
น้ำหนักโมเลกุล : 94.11 AMU
พี่เอช (pH) : 6
จุดเดือด/ข่วงการเดือด : 182 oC  760 mmHg
จุดหลอมเหลว/ช่วงการหลอมเหลว : 40 - 42 oC  
ฟีนอลสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนบริเวณหมู่ไฮดรอกซิลได้ ดังรูป

พันธะไฮโดรเจนในฟีนอล

ที่มา : http://www.meritnation.com/ask-answer/question/difference-between-benzene-and-phenol/haloalkanes-and-haloarenes/5312440

การละลายน้ำของฟีนอล    

เนื่องจากฟีนอลสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ ดังนั้นฟีนอลจึงมีความสามารถในการละลายน้ำได้เช่นเดียวกับสารประกอบแอลกอฮอล์ ฟีนอลสามารถละลายน้ำได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกันเนื่องจากวงอะโรมาติกของฟีนอลเพราะโมเลกุลรวมตัวเล็กลง เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ที่มีกิ่งก้านก็จะสามารถละลายน้ำได้ดีขึ้นนั่นเอง (เฮกซานอล (hexanol) ละลายน้ำได้ 5.9 กรัม/1000 มิลลิลิตร ที่ 20 องศาเซลซียส ฟีนอลละลายน้ำได้ 83 กรัม/1000 มิลลิลิตร ที่ 20 องศาเซลเซียส)

ความเป็นกรด-เบสของฟีนอล

ฟีนอลมีสมบัติเป็นกรดเล็กน้อย ค่าคงที่การแตกตัวของกรดหรือค่า Ka ของฟีนอลเท่ากับ   1x10-10 ในขณะที่กรดแอซิติก (CH3COOH) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ มีค่าคงที่การแตกตัวของกรดหรือค่า Ka เท่ากับ 1.7 x 10-5 จากค่า Ka ข้างต้นทำให้ความสามารถในการละลายในเบสแตกต่างกัน
การละลายน้ำของฟีนอล
การละลายน้ำของกรดแอซิติก
เมื่อใช้สารละลาย 5% NaHCO3 ซึ่งเป็นเบสอ่อนเป็นตัวทำละลายพบว่าฟีนอลไม่ละลายในสารละลาย NaHCO3 และไม่ให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แต่กรดแอซิติกสามารถละลายได้ในสารละลาย NaHCO3 และให้แก๊ส CO2 ด้วย เนื่องจากกรดแอซิติกเป็นกรดแก่กว่าฟีนอลนั่นเอง ดังสมการ
แต่สารฟีนอลไม่ได้เป็นกรดอ่อนทุกตัว ถ้าหากมีหมู่ดึงอิเล็กตรอนหรือใช้ตัวย่อ EWG อยู่ที่ตำแหน่งออโท และ/หรือพาราของฟีนอล ก็จะทำให้สารประกอบฟีนอลชนิดนั้นเป็นกรดที่สูงขึ้น เนื่องจากอิทธิพลในหมู่ดึงอิเล็กตรอนนั้นทำให้แรงระหว่างพันธะระหว่างออกซิเจนและไฮโดรเจนบริเวณหมู่ไฮดรอกซิลอ่อนลง จึงทำให้ไฮโดรเจนแตกตัวเป็น H3O+ ได้ง่ายขึ้น

 หมู่ดึงอิเล็กตรอนในฟีนอล
ตัวอย่างเช่น 2,4,6-trinitrophenol (กรดพิคริก) มีค่า pKa = 0.38 ซึ่งมีค่ามากกว่ากรดแอซิติกหรือกรดน้ำส้ม (CH3COOH : pKa = 4.76)

ดังนั้นถ้าค่า Ka มากแสดงถึงการแตกตัวเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำได้มาก (มีความเป็นกรดมาก) แต่ถ้าค่า Ka น้อยแสดงถึงการแตกตัวเป็นไฮโดรเนียมไอออนในน้ำได้น้อย (มีความเป็นกรดน้อย) จุดเดือดและจุดหลอมเหลว
ฟีนอลจะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลใกล้เคียงกัน เช่น ฟีนอลมีน้ำหนักโมเลกุล 94 จุดเดือด 182 C จุดหลอมเหลว 40-43 C ในขณะที่โทลูอีนมีน้ำหนักโมเลกุล 92 จุดเดือด 111 C จุดหลอมเหลว -95 C ทั้งสองมีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกันแต่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวแตกต่างกันอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากฟีนอลมีหมู่ไฮดรอกซิลเป็นองค์ประกอบซึ่งสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลได้ ดังนั้นจึงมีแรงดึงดูดยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงทำให้ต้องใช้พลังงานมากในการแยกโมเลกุลออกจากกัน จึงทำให้ฟีนอลมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่าโทลูอีน
 
Phenol (C6H5OH)           Toluene

การเรียกชื่อของสารประกอบฟีนอล

แบ่งเป็น 2 ระบบคือระบบการเรียกชื่อแบบสามัญและระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry)

การเรียกชื่อแบบสามัญ

เรียกตำแหน่งคาร์บอนที่อยู่ถัดจากคาร์บอนที่มีหมู่ไฮดรอกซิลต่ออยู่ทั้งสองข้าง เรียกตำแหน่งออโท (ortho-) ตำแหน่งคาร์บอนถัดมาเรียกตำแหน่งเมตา (meta-) และตำแหน่งคาร์บอนที่อยู่ตรงข้ามกับคาร์บอนที่มีหมู่ไฮดรอกซิลต่ออยู่เรียกพารา (para-) แต่จะไม่เขียน ortho-  meta-  para- เต็มๆ จะเขียนเพียง o- แทน orhto- เขียน m- แทน meta- และเขียน p- แทน para-
การเรียกชื่อฟีนอลแบบสามัญ
ตัวอย่างการอ่านชื่อฟีนอลแบบสามัญ
อะตอมโบรมีนอยู่ที่ตำแหน่งออโท มีอะตอมคลอรีนอยู่ที่ตำแหน่งเมตา และมีอะตอมฟลูออรีนอยู่ที่ตำแหน่งพารา ดังนั้นการอ่านชื่อจึงต้องอ่านว่า ออโทโบรโมฟีนอล (o-brmophenol) เมตาคลอโรฟีนอล(m-chlorophenol) และพาราฟลูออโรฟีนอล (p-fluorophenol)
หมายเหตุ อักษรภาษาอังกฤษ o-  m- และ p- ต้องเอียงเสมอ พร้อมทั้งการอ่านชื่อสารประกอบฟีนอลแบบสามัญต้องลงท้ายชื่อด้วยคำว่า phenol เสมอเพราะถือว่าเป็นหมู่ฟังก์ชันหมู่หนึ่งเช่นเดียวกัน

m-ethyl-o-methylphenol
จากตัวอย่าง m-ethyl-o-methylphenol การอ่านชื่อหมู่แทนที่ต้องอ่านตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ จากตัวอย่างมีหมู่แทนที่เมทิล (methyl) และ เอทิล (ethyl) ซึ่งหมู่เอทิลเป็นอักษรภาษาอังกฤษ ที่ขึ้นต้นด้วยตัว e ซึ่งมาก่อนอักษรภาษาอังกฤษของเมทิลซึ่งขึ้นต้นด้วยตัว m ดังนั้นเวลาอ่านต้องอ่านหมู่เอทิลก่อนหมู่เมทิล

o-bromo-m-fluorophenol
จากตัวอย่าง o-bromo-m-fluorophenol มีอะตอมโบรมีนอยู่ที่ตำแหน่งออโท มีอะตอมฟลูออรีนอยู่ที่ตำแหน่งเมตา อักษรภาษาอังกฤษของอะตอมโบรมีนขึ้นต้นด้วยอักษร b อักษรภาษาอังกฤษของอะตอมฟลูออรีนขึ้นต้นด้วยตัว f ดังนั้นสารประกอบฟีนอลนี้ต้องอ่านว่า ออโทโบรโมเมตาฟลูออโรฟีน(o-bromo-m-fluorophenol)

การอ่านชื่อตามระบบ IUPAC

เริ่มนับคาร์บอนที่มีหมู่ไฮดรอกซิลต่ออยู่เป็นคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 และตำแหน่งถัดมาเป็น 2 3 4 5 และ 6 ตามลำดับโดยการนับอาจนับตามหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้ที่ให้ชื่อที่มีตัวเลขต่ำกว่า
การอ่านชื่อตามระบบ IUPAC
ตัวอย่างการอ่านชื่อตามระบบ IUPAC 
จากตัวอย่างอะตอมโบรมีนอยู่ที่ตำแหน่งที่ 2 มีอะตอมคลอรีนอยู่ที่ตาแหน่งที่ 3 และมีอะตอมฟลูออรีนอยู่ที่ตำแหน่งที่ 4ดังนั้นสารประกอบฟีนอลดังกล่าวต้องอ่านว่า สองโบรโมฟีนอล (2-bromophenol) สามคลอโรฟีนอล (3-chlorophenol) และสี่ฟลูออโรฟีนอล (4-fluorophenol) ตามลำดับ
การอ่านชื่อนอกจากจะต้องระบุตำแหน่ง 2 3 4 5 หรือ 6 แล้วยังต้องเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของหมู่แทนที่ด้วย

3-ethyl-2-methylphenol
จากตัวอย่างมีหมู่แทนที่เมทิล และ เอทิล ซึ่งหมู่เอทิลมีอักษรภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยตัว e ซึ่งมาก่อนอักษรภาษาอังกฤษของเมทิลซึ่งขึ้นต้นด้วยตัว m ดังนั้นเวลาอ่านชื่อต้องอ่านหมู่เอทิลก่อนหมู่เมทิล และ
การอ่านชื่อที่ถูกต้อง ต้องเอาลำดับเลขน้อยไว้กับลำดับภาษาอังกฤษของหมู่แทนที่ที่ขึ้นต้นก่อน ตัวอย่างเช่น

หมายเหตุ ตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าจะไม่เอียงตาม o-, m-, p- ในชื่อสามัญ

ประโยชน์ของสารประกอบฟีนอล

  1. นำมาใช้เป็นสารหอมระเหยในสปา
  2. สารประกอบฟีนอลที่เล็กที่สุดคือฟีนอลถูกพบในธรรมชาติ ในน้ำมันดินจากถ่าหิน ฟีนอลเป็นสารพิษอันตรายและกัดผิวหนังได้ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดพวกพาราเซตามอล ยาฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย
  3. ใช้ผลิตกาว สี พลาสติก วัตถุระเบิดในระดับอุตสาหกรรม
  4. ใช้เป็นสารตั้งต้นในการถนอมอาหาร เช่น BHT
  5. นอกจากนี้สารประกอบฟีนอลชนิดอื่นๆ เช่น Tyrosine ซึ่งเป็นกรดอะมิโน และยูจินอลเป็นสารที่พบมากในน้ำมันหอมระเหยกานพลู
  6. ด้านความงาม เช่น Methylparpben ซึ่งพบมากในผลไม้พวกบลูเบอรี่ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย จึงเป็นที่นิยมในการนำมาผสมในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ถนอมผิวจำนวนมากแต่ เมทิลพาราเบนถึงแม้จะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจ ก่อให้เกิดการแพ้ได้

ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย

เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมสารเข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจให้การช่วยหายใจ  ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบากทำการให้ออกซิเจน
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สารถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสารออก  รีบไปพบแพทย์
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่สารเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที  และต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง รีบไปพบแพทย์
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกินสารเข้าไป ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่ให้ใช้น้ำบ้วนปาก  และไปพบแพทย์ทันที
คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย : อย่าหายใจเอาฝุ่นเข้าไป  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง
การเก็บรักษา
ปิดภาชนะให้สนิท  เก็บให้ห่างจากความร้อนและเปลวไฟ ใช้และเก็บภายใต้ไนโตรเจน เก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
ที่มาข้อมูล
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (2004). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (PHENOL). สืบค้นเมื่อ 16 ,มกราคม, 2560,จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst108-95-2.html
  • นาตยา งามโรจนวณิชย์ และเอกพล รัตนางกูร (ม.ป.ป.). เคมีอินทรีย์ ตอนสารประกอบฟีนอล. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม, 2560, จาก http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/%A4%D9%E8%C1%D7%CD%E0%A4%C1%D5/62_%CA%D2%C3%BB%C3%D0%A1%CD%BA%BF%D5%B9%CD%C5.pdf
  • พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์  และนิธิยา รัตนาปนนท์ (ม.ป.ป.). สารประกอบฟีนอล. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม, 2560, จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2585/phenolic-compound

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น