วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สารเคมีในห้องครัว : ผงฟู


ที่มา : http://clipart-library.com/donut-cliparts.html

ผงฟูทำขนมปัง (Baking powder) (NaHCO3) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผลึกเกลือ เกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และ citrate ส่วนเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นเกลือของอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟต
โดยส่วนใหญ่ Baking powder ในปัจจุบันเรียกว่า double acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง เกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า Baking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ
  • ผงฟู (Baking Powder) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในผลองุ่น) , ไดโซเดียมไพโรฟอสเฟต (disodium pyrophosphate) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีแก๊สเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ (ผงฟูมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2)
  • เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว

ชนิดของผงฟู (Baking Powder) 

  • ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
  • ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในผงฟู

เมื่อผสม NaHCO3 ลงในส่วนผสมของขนมแล้วนำไปนึ่งหรืออบ  เมื่อผงฟูได้รับความร้อนมากกว่า 70 °C จะค่อยๆ สลายตัวไปเป็นโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)  น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2ปฏิกิริยาการสลายตัวนี้จะเกิดขึ้นได้เร็วที่อุณหภูมิ 250 °C แก๊ส CO2 ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาจะพยายามแทรกตัวออกมา ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศอยู่ทั่วไปในขนม ขนมจึงมีลักษณะพองหรือฟูขึ้น  ปฏิกิริยาเป็นดังสมการ

การใช้งาน
ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ น้ำผึ้ง
ผงฟู และเบคกิ้งโซดา ล้วนแต่เป็นสารที่ช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ส่วนมากจะใช้ในโอกาสแตกต่างกัน เบคกิ้งโซดา มักจะใช้ในขนมที่มี โกโก้ หรือ กาแฟ เป็นส่วนผสม เพราะว่าโกโก้ และ กาแฟ มีค่าเป็นกรด ซึ่งเบคกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม เบคกิ้งโซดาจะมีจุดเสียตรงที่ว่า ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ขนมมีรสเฝื่อน แต่ก็จะมีการแก้ไขได้โดยการผสมกรดลงไปในสูตรขนม เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว ผงฟู มักจะใช้ในการทำขนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะผงฟูจะช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ในอัตราที่พอควร ไม่มากเท่าโซดา ส่วนเรื่องการใช้แทนกัน ผงฟูใช้แทน เบคกิ้งโซดา ได้ แต่ เบคกิ้งโซดา ใช้แทน ผงฟูไม่ได้
ตอนนี้เราก็รู้จักผงฟูกันไปแล้ว จะขอแนะนำสารเคมีที่ผสมในผงฟูกันหน่อยนะคะ นั่นคือ Sodium bicarbonate (NaHCO)

Sodium bicarbonate

ชื่อ IUPAC: SODIUM HYDROGENCARBONATE
สูตรเคมี : NaHCO3
สูตรโครงสร้าง :
ที่มา : http://www.sigmaaldrich.com/catalog/product/sial/36486?lang=en&region=TH

มวลโมเลกุล : 84.01 AMU

จุดหลอมเหลว/ช่วงการหลอมเหลว 300 °C
ลักษณะทางกายภาพ : ของแข็งผลึกสีขาว
ที่มาข้อมูล : 

  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(ม.ป.ป.).ผงฟู.สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม,2559,จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น