วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สารปนเปื้อนในอาหาร : สารบอแรกซ์


ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/342648
มีอาหารหลากหลายชนิดที่เราชอบรับประทานโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีตัวนี้นิยมนำมาผสมในอาหารเพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย สารเคมีปนเปื้อนนี้ก็คือ บอแรกซ์นั่นเอง ซึ่งอาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น เมื่อบอกชื่ออาหารที่มีสารบอแรกซ์ปนอยู่ เราก็คงต้องตกใจกันบ้างเพราะว่าอาหารเหล่านี้ล้วนมักจะเป็นอาหารโปรดของเราทั้งสิ้น แล้วบอแรกซ์คืออะไร มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
BORAX
ชื่อตาม IUPAC : Sodium tetraborate decahydrate
สูตรเคมี : B4Na2O7.10H2O

สูตรโครงสร้าง :
ที่มา : http://www.trc-canada.com/product-detail/?S673090
น้ำหนักโมเลกุล : 381.37 AMU
จุดหลอมเหลว/ช่วงการหลอมเหลว :  62 oC
มาตรการปฐมพยาบาล
เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์  ถ้าเริ่มหายใจลำบาก, ให้ตามแพทย์มา
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง  ไปพบแพทย์
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่  ไปพบแพทย์.
บอแรกซ์ (borax) เป็นสารเคมี ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย มีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ เม่งแซ ผงเนื้อนิ่ม
สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
  1. ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
  2. เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
  3. เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น

มีการนำบอแรกซ์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น

พิษของสารบอแรกซ์

เกิดได้สองกรณี คือ
  1. แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ใหญ่ ได้รับสารบอแรกซ์ 15 กรัม และ เด็ก ได้รับ 5 กรัม จะทำให้อาเจียนเป็นเลือดและถึงแก่ชีวิตได้ ภายใน 3-4 ชม.
  2. แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ และตับไตอักเสบ

คำแนะนำ

  • ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
  • หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
  • ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ

การใช้บอแรกซ์ในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เป็นสารเคมีห้ามใช้ในอาหาร (prohibit substances) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร
โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มาข้อมูล : 
  • พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์.(ม.ป.ป.). บอแรกซ์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม2559,จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2040/borax-บอแรกซ์ 
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย. (2004.). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย: SODIUM TETRABORATE DECAHYDRATEสืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม, 2559,จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst1303-96-4.html
  • กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). อาหารปนเปื้อนสารเคมี...อันตราย.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม, 2559,จาก http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/foodsafety46f10.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น