วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์และโทษของแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์  เป็นสารเคมีที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม  ในภาคครัวเรือน แอลกอฮอล์เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งแอลกอฮอล์มีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการนำแอลกอฮอล์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดอันตรายน้อยสุดหรือไม่เกิดเลย และเป็นการดูแลตัวเองหากต้องใช้หรือสัมผัสกับแอลกอฮอล์โดยตรง
แอลกอฮอล์ที่ใช้กันทั่วไปนั้นมีอยู่สองชนิดที่มีความสำคัญ  คือ  เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์) และ เมทานอล (เมทิลแอลกอฮอล์)

ประโยชน์และโทษของเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ (CH3OH)

สูตรโครงสร้าง :
Methanol
น้ำหนักโมเลกุล :  32.04 amu.
สถานะทางกายภาพ :   ของเหลว ไม่มีสี
จุดเดือด/ข่วงการเดือด : 64 - 65 oC  ที่ความดัน 760 mmHg
จุดหลอมเหลว/ช่วงการหลอมเหลว :  -98 oC  
การละลายน้ำ :  ผสมเป็นเนื้อเดียว
ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย
เป็นสารไวไฟสูง เป็นพิษเมื่อสูดดม, สัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกลืนกิน
มาตรการปฐมพยาบาล
เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบากทำการให้ออกซิเจน
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สารถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร  หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์ 
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์ 
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกินสารเข้าไป ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติอยู่ให้ใช้น้ำบ้วนปาก และไปพบแพทย์ทันที
ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตาผิวหนัง และเสื้อผ้า  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง
การเก็บรักษา
ปิดภาชนะให้สนิท  เก็บให้ห่างจากความร้อนประกายไฟและเปลวไฟ
เมทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนน้อยที่สุด เตรียมได้จากการเผาไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า ไม้แอลกอฮอล์  (wood alcohol) ที่อุณหภูมิสูงในสภาวะที่ปราศจากอากาศ และในระดับอุตสาหกรรมสามารถเตรียมเมทานอลได้จากปฏิกิริยาระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง โดยมีโลหะออกไซด์ เช่น Fe2O3, ZnO/Cr2O3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ
ประโยชน์ของเมทานอล
  • นำมาใช้เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ในอุตสาหกรรมการทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิง
  • ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก ยา และสารประกอบอินทรีย์ชนิดอื่น เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์
อันตรายของเมทานอล
เมทานอลเป็นสารที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก โดยเมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ ผู้ที่สูดดมเข้าไปจะรู้สึกระคายเคื่องต่อทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาหรืออาจทำให้ตาบอด  ถ้าเมทานอลเข้าสู่ร่างกายจะถูกออกซิไดซ์กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (HCHO) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตาบอดหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ประโยชน์และโทษของเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ (CH3CH2OH)

สูตรโครงสร้าง
Ethanol
น้ำหนักโมเลกุล : 46.07 AMU
สถานะทางกายภาพ :   ของเหลวใส  ไม่มีสี
จุดเดือด/ข่วงการเดือด : 78 - 80 oC  ที่ความดัน 760 mmHg
การละลายน้ำ :  ผสมเป็นเนื้อเดียว
ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย
เป็นสารไวไฟสูง
การปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสสาร
เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ  ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบากทำการให้ออกซิเจน
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สัมผัสกับสารให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกินสารเข้าไป ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่ให้ใช้น้ำบ้วนปาก  หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์ 
ข้อปฏิบัติการใช้สารและการเก็บรักษา
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
หลีกเลี่ยงการหายใจเอาไอระเหยเข้าไป หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา, ผิวหนัง และเสื้อผ้า หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง 
การเก็บรักษา
ปิดภาชนะให้สนิท เก็บให้ห่างจากความร้อน, ประกายไฟ, และเปลวไฟ  เก็บในที่แห้งและเย็น  
เอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะตัว ระเหยได้ ติดไฟง่าย เวลาติดไฟจะไม่มีเขม่า สามารถละลายน้ำได้ เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่เตรียมได้จากการหมักน้ำตาลจากผลไม้หรือแป้งที่ได้จากธัญญาพืชในที่ไม่มีออกซิเจน โดยใช้เอนไซม์ในยีสต์หรือแบคทีเรียช่วยเร่งปฏิกิริยาจะได้เอทานอลดังสมการ 

เอทานอนที่ได้จากวัตถุดิบต่างกันจะมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ถ้าใช้น้ำองุ่นในการหมักจะเรียกว่า ไวน์ (wine) ถ้าใช้มันฝรั่ง (แป้ง) ในการหมักจะเรียกว่าเหล้าหรือ   ว๊อดก้า (Vodka) แต่ถ้าใช้ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวฮอพในการหมักจะเรียกว่าเบียร์
เอทานอลที่ได้จากการหมักน้ำตาลหรือยีสต์นี้จะนำมาบริโภคในรูปของไวน์ เบียร์ และเหล้า แต่การบริโภคเครื่องดื่มที่มีเอทานอลเป็นองค์ประกอบในปริมาณมากเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาท ตับ และเกิดอาการเสพติด
ในอุตสาหกรรมสามารถเตรียมเอทานอลได้จากปฏิกิริยาระหว่างอีทีนกับน้ำ ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูงโดยมีกรดเข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ
ประโยชน์ของเอทานอล
  • นำมาบริโภคในรูปของไวน์ เบียร์ และเหล้า
ที่มา : https://sites.google.com/a/email.kmutnb.ac.th/beer-nayata/
  • สามารถใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิตน้ำหอมและยา
  • ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค
  • ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสีย้อม เครื่องสำอาง และสารประกอบอินทรีย์ที่สำคัญชนิดอื่นๆ เช่น กรดแอซิติก
  • สามารถนำเอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ในอัตราส่วนเอทานอล 1 ส่วนกับเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารถยนต์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีเอทานอล 20 เปอร์เซนต์ เรียกเชื้อเพลิงนี้ว่า E20 สำหรับรถบางรุ่นสามารถใช้น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอลมากถึง 85 เปอร์เซนต์ ซึ่งเรียกเชื้อเพลิงนี้ว่า E85
ที่มาข้อมูล :
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2559, จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst67-56-1.html
  • จุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2559, จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst64-17-5.html
  • นาตยา งามโรจนวณิชย และนุชสรา ฉ่ำผิว. (ม.ป.ป.). เคมีอินทรียตอนสารประกอบแอลกอฮอล. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 255, จาก http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/%A4%D9%E8%C1%D7%CD%E0%A4%C1%D5/61_%CA%D2%C3%BB%C3%D0%A1%CD%BA%E1%CD%C5%A1%CD%CE%CD%C5%EC.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น