ที่มา : http://www.wallpaperup.com/722640/SEAFOOD_food_fish_sea_ocean.html
ฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formalin or Formaldehyde)
สารฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารเคมีที่เรานำมาใช้ในงานต่างๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ เคมี และทางการเกษตร สารเคมีถ้าใช้อย่างถูกวิธีก็เกิดประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะเกิดโทษ ซึ่งในปัจจุบันเราได้ยินข่าวทางโทรทัศน์ว่าพบการปนเปื้อนของฟอร์มาลินในอาหารหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น อาหารสด เช่น เนื้อหมู ไก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึก นอกจากในอาหารสดที่กล่าวมาแล้ว พ่อค้าหัวใสบางรายยังนำฟอร์มาลีนมาใช้แช่ผักผลไม้ให้คงความสด เพื่อยืดระยะเวลาในการขายออกไป
สารฟอร์มาลิน คนทั่วไปรู้ว่าเป็นน้ำยาดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ด้วยคุณสมบัติเด่นข้อนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าแอบนำมาใช้ในทางที่ผิดกับอาหาร เพื่อทำให้อาหารสดและน่ารับประทาน ตามธรรมชาติฟอร์มัลดีไฮด์สามารถเกิดขึ้นเองในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งมีปริมาณน้อยและสลายตัวได้โดยแสงอาทิตย์ ออกซิเจนและความชื้น และร่างกายของคนเราสามารถกำจัดได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย อาหารที่พบว่ามีการปนเปื้อนฟอร์มัลดีไฮด์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ ปลาหมึก กุ้ง ผักต่างๆ เช่น กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ถั่วงอก เห็ด
สารฟอร์มาลิน คนทั่วไปรู้ว่าเป็นน้ำยาดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ด้วยคุณสมบัติเด่นข้อนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าแอบนำมาใช้ในทางที่ผิดกับอาหาร เพื่อทำให้อาหารสดและน่ารับประทาน ตามธรรมชาติฟอร์มัลดีไฮด์สามารถเกิดขึ้นเองในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งมีปริมาณน้อยและสลายตัวได้โดยแสงอาทิตย์ ออกซิเจนและความชื้น และร่างกายของคนเราสามารถกำจัดได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย อาหารที่พบว่ามีการปนเปื้อนฟอร์มัลดีไฮด์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ ปลาหมึก กุ้ง ผักต่างๆ เช่น กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ถั่วงอก เห็ด
ที่มา : http://weknowyourdreams.com/vegetable.html
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารประกอบอินทรีย์ กลุ่มอัลดีไฮด์ มีสูตรเคมี คือ CH2O หรือ HCHO ฟอร์มัลดีไฮด์ที่ความดันปกติจะมีสถานะเป็นแก๊ส
ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ติดไฟได้ แก๊สฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อรวมตัวกับอากาศ
และออกซิเจนสามารถเกิดการระเบิดได้ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ
ในทางการค้านิยมใช้อยู่ในรูปของสารละลายสารฟอร์มาลิน (Formalin) คือสารละลายที่ประกอบด้วยแก๊สฟอร์มัลดีไฮด์ประมาณ 37- 40% ในน้ำและมีการเติมสารละลายเมทานอลประมาณ
10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์พาราฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งมีความเป็นพิษสูงกว่า
พิษของฟอร์มาลินต่อสุขภาพ
พิษแบบเฉียบพลัน ถ้าได้รับสูงเกิน 0.1 ppm ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา จมูกและทางเดินหายใจ แต่ถ้าได้รับปริมาณเข้มข้นสูงเกิน 100 ppm อาจทำให้หมดสติ และตายในที่สุด เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูงๆ สารฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิค (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายอาการเรื้อรัง
หากได้รับปริมาณน้อยแต่ระยะยาวจะทำให้เกิดผลเสียกับระบบต่างๆ
ของร่างกาย หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้
จากข้อมูลความปลอดภัย จากฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาร ฟอร์มัลดีไฮด์ ดังนี้
Formaldehyde
ชื่อตาม IUPAC : Methanal
ชื่ออื่น : formol, methyl aldehyde, formalin,
methylene oxide
น้ำหนักโมเลกุล : 30.03 AMU
สูตรเคมี : CH2O
สูตรโครงสร้าง
:
ฟอร์มัลดีไฮด์
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ฟอร์มาลดีไฮด์
ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย
ข้ออชี้บ่งสำหรับอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษเมื่อสูดดม, สัมผัสทางผิวหนัง
และเมื่อกลืนกิน. ทำให้เกิดแผลไหม้.
มีหลักฐานจำกัดในการระบุผลการก่อมะเร็ง. การสัมผัสทางผิวหนัง
อาจทำให้เกิดอาการแพ้.เป็นสารก่อมะเร็ง ประเภท
3
มาตรการปฐมพยาบาล
เมื่อสูดดมสารเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบาก ทำการให้ออกซิเจน
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่สารถูกผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก
เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร ไปพบแพทย์
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่เข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก
เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ
โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง ไปพบแพทย์
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกิน ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่ ไปพบแพทย์ทันที ห้ามทำให้อาเจียน
ข้อปฏบัติการใช้สารและการเก็บรักษา
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง ห้ามใช้ถ้าผิวหนังมีบาดแผลหรือถลอ. ล้างให้สะอาดหลังการใช้งาน
|
||
|
||
|
การเก็บรักษา
ปิดภาชนะให้สนิท เก็บให้ห่างจากความร้อน, ประกายไฟ,
และเปลวไฟ เก็บในที่แห้งและเย็น
ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค
อาหารที่มักพบสารฟอร์มาลินปนเปื้อน ได้แก่อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสด
และผลไม้ ซึ่งวิธีสังเกตง่ายๆ คือ
- ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ หากถูกแสงแดด หรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังสดอยู่ก็ไม่ควรซื้อ
- ถ้าเป็นอาหารทะเลที่เนื้อแข็งบางส่วน เปื่อยยุ่ยบางส่วน ไม่ควรซื้อ
- ถ้าเป็นผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ ให้ดมที่ใบ ผลหรือหักก้านดม ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกแสดงว่ามีฟอร์มาลินปนเปื้อน
- เมื่อซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 – 5 ลิตร) ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้
ที่มา :
- สุรินทร์ อยู่ยง.(ม.ป.ป.).ฟอร์มาลิน ฟอร์มัลดีไฮด์ .สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม, 2559,จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/322/ฟอร์มาลิน-ฟอร์มัลดีไฮด์/
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย. (2004). เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (FORMALDEHYDE). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม, 2559,จาก http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst50-00-0.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น