แอลกอฮอล์เป็นสารอินทรีย์ที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราอาจพบแอลกอฮอล์ผสมอยู่ในเครื่องดื่ม เช่น เหล้า เบียร์ อาจจะพบแอลกอฮอล์ในน้ำยาล้างแผล ในเครื่องสำอาง หรือใช้เป็นตัวทำละลายต่างๆ แล้วเราทราบไหมคะว่าแอลกอฮล์มีสมบัติอย่างไรบ้าง ทำไมเราจึงสามารถนำแอลกอฮอล์มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงในส่วนของสมบัติต่างๆของแอลกอฮอล์กันนะคะ
แอลกอฮอล์มีหมู่ฟังก์ชันคือหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) มีสูตรทั่วไปเป็น R-OH เมื่อ R คือ หมู่
แอลคิล (alkyl group) ซึ่งอาจมีวงแหวนเบนซีนเป็นส่วนประกอบได้แต่หมู่ -OH จะต้องไม่ต่ออยู่กับวงแหวนเบนซีนโดยตรง (ถ้าต่อโดยตรงจะเป็นสารประกอบพวกฟีนอล)
สมบัติทางกายภาพของสารประกอบแอลกอฮอล์ (Physical Properties of Alcohols)
การละลายน้ำของแอลกอฮอล์ (Solubility of Alcohols)
แอลกอฮอล์สามัญที่พบโดยทั่วไปที่มีจำนวนคาร์บอนไม่เกิน 12 อะตอม ส่วนใหญ่จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง สำหรับเมทานอลและเอทานอลจะเป็นของเหลวที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นผลไม้เฉพาะตัว ส่วนแอลกอฮอล์ที่มีจำนวนคาร์บอนสูงขึ้นไปตั้งแต่บิวทานอลไปจนถึงเดคานอล (decanols) จะเป็นของเหลวหนืด และไอโซเมอร์ (isomer) บางตัวที่มีโซ่กิ่งมากจะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องเนื่องจากแอลกอฮอล์มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งเป็นส่วนที่มีขั้ว จึงทำให้แอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลมีขั้วโดยผลของการเหนี่ยวนำของออกซิเจน (O) ที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูงกว่าคาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) จึงทำให้ออกซิเจนมีประจุเป็นลบเล็กน้อย ส่วนคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นบวกเล็กน้อย
สภาพขั้วของน้ำและแอลกอฮอล์
ที่มา : http://www.keyword-suggestions.com/YWxjb2hvbCBwb2xhcml0eQ/
ตารางแสดงสมบัติทางกายภาพของแอลกอฮอล์บางชนิด
จากตารางแสดงสมบัติทางกายภาพของแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 1-3
อะตอมสามารถละลายน้ำได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลมีขั้วและมีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) อยู่ในโมเลกุลแอลกอฮอล์จึงสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ ดังนั้นจึงทำให้แอลกอฮอล์ละลายน้ำได้
แต่เมื่ออะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้นแอลกอฮอล์จะละลายน้ำได้น้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อโมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีส่วนของหมู่แอลคิลที่ไม่ละลายน้ำเพิ่มมากขึ้น สภาพขั้วของโมกุลจะอ่อนลง ส่งผลให้การละลายน้ำได้น้อยลง
รูปแสดงพันธะไฮโดรเจนระหว่างแอลกอฮอล์กับน้ำ
ที่มา : http://silverbullet.in/chapters/lessonsummary/2219/2183
จุดเดือดของแอลกอฮอล์ (Boiling Point of Alcohols)
ที่มา : http://www.middleschoolchemistry.com/multimedia/chapter5/lesson1
จากตารางเมื่อแอลกอฮอล์มีจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น จุดเดือดจะสูงขึ้น
เพราะการเพิ่มจำนวนอะตอมของคาร์บอนทำให้มวลโมเลกุลของแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น
ทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากขึ้นด้วย
เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลกอฮอล์กับแอลเคนที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกันพบว่า
จุดเดือดของแอลกอฮอล์จะมีค่าสูงกว่าแอลเคน เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลที่มีขั้ว
จึงมีทั้งแรงลอนดอนและแรงดึงดูดระหว่างขั้วเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลได้ โดยเกิดแรงดึงดูดระหว่างประจุที่เป็นลบเล็กน้อยของออกซิเจนกับประจุที่เป็นบวกเล็กน้อยของไฮโดรเจนของอีกโมเลกุลหนึ่ง ส่วนแอลเคนมีเพียงแรงลอนดอนเท่านั้น ดังนั้นจุดเดือดของแอลกอฮอล์จึงสูงกว่าแอลเคนที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
ปฏิกิริยาเผาไหม้
(Combustion Reaction)
รูปแสดงพันธะไฮโดรเจนของหมู่ไฮดรอกซิลซึ่งเป็นหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:H-bonding_alcohol.png
ที่มา : https://sites.google.com/site/ellesmerealevelchemistry/module-4-core-organic-chemistry/4-2-alcohols-haloalkanes-and-analysis/4-2-1-alcohols/4-2-1-b-c-combustion-and-oxidation-of-alcohols
แอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้ดี ไม่มีเขม่าและควัน
ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังสมการ
CH3CH2OH(l) +
3O2(g) ® 2CO2(g) + 3H2O(g)
เอทานอล ออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ
ความเป็นกรดหรือเบสของแอลกอฮอล์
ที่มา : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.priantos.litmuspaper
แอลกอฮอล์มีสมบัติเป็นกลาง เนื่องจากเมื่อทำการทดสอบความเป็นกรดเบสของแอลกอฮอล์ด้วยกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงิน พบว่ากระดาษลิตมัสไม่เปลี่ยนสี
จึงสามารถสรุปได้ว่า แอลกอฮอล์มีสมบัติที่เป็นกลาง
ปฏิกิริยาการแทนที่ด้วยโลหะที่ว่องไว (active metal)
แอลกอฮอล์สามารถเกิดปฏิกิริยาการแทนที่กับโลหะที่ว่องไว
เช่น โซเดียม (Na) โดยโลหะ Na จะเข้าไปแทนที่อะตอมของไฮโดรเจน
(H) ในหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ได้แก๊สไฮโดรเจนออกมา
ดังสมการ
CH3CH2OH(l) +2Na(g) ® 2CH3CH2ONa(l) + H2(g)
เอทานอล โซเดียม โซเดียมเอทอกไซด์ แก๊สไฮโดรเจน
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
(Oxidation reaction) ด้วยสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต
(KMnO4)
แอลกอฮอล์ปฐมภูมิและทุติยภูมิสามารถฟอกจางสีของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตใน
สภาวะเบสได้
จากการทดลอง ขั้นแรกเติมน้ำกลั่นลงในหลอดทดลอง 2 มิลลิลิตร จากนั้นหยดเมทานอลลงไป
5 หยด เขย่า และเติมสารละลาย 5% โซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH) ลงไป 2 หยด เขย่าหลอดทดลอง จากนั้นเติมสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต
(KMnO4) 5 หยด เขย่าหลอดทดลอง พบว่าสีม่วงของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต
(KMnO4) หายไป เกิดเป็นตะกอนสีน้ำตาลขึ้น
จากผลการทดลองที่เกิดขึ้น สีม่วงของ KMnO4 หายไปและเกิดเป็นตะกอนสีน้ำตาลขึ้นเนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปรีดิวซ์สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) ให้กลายเป็นแมงกานีสไดออกไซด์
(MnO2) สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) จึงเปลี่ยนจากสีม่วงเกิดเป็นตะกอนสีน้ำตาลของแมงกานีสไดออกไซด์
(MnO2) ดังสมการ
ที่มาข้อมูล :
- นาตยา งามโรจนวณิชย และนุชสรา ฉ่ำผิว. (ม.ป.ป.). เคมีอินทรียตอนสารประกอบแอลกอฮอล. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม, 2559, จาก http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/%A4%D9%E8%C1%D7%CD%E0%A4%C1%D5/61_%CA%D2%C3%BB%C3%D0%A1%CD%BA%E1%CD%C5%A1%CD%CE%CD%C5%EC.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น