วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สารปนเปื้อนในอาหาร : สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ที่มา : http://www.aggrogroups.com/2012/?hm=news&type=2&p=36
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากสภาพอากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอบอุ่นจึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตและแพร่ระบาดของศัตรูพืช ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ยาฆ่าแมลงปัจจุบันพบว่ามีการใช้ ในการปราบศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก สารปราบศัตรูพืชมีหลายชนิด เช่น สารฆ่าหญ้าและวัชพืช สารฆ่าแมลง และสารฆ่าเชื้อรา การใช้สารเคมีเหล่านี้อาจใช้ในระหว่างการเพาะปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต หลังการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการเก็บรักษาและอื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับอาหาร

ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกันกําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อรา สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)

ที่มา : www.kokomax.com/product-th-594010-6753801-การทำสงครามระหว่างเกษตรกร+กับ+หนอนแมลงศัตรูพืช.html

สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
  1. กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT) ดีลดริน (Dieldrin) ออลดริน (Aldrin)  ท็อกซาฟีน (Toxaphene)  คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น
  2. กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน (Fenitrothion) เป็นต้น
  3. กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl) เป็นต้น
  4. กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin)  เรสเมธริน (Resmethrin)  และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)

ที่มา : http://lpmp-riceschool.blogspot.com/2013/07/blog-post_5508.html

สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
  1. สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2,4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น
  2. สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่นในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียงต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat)  ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide)


ที่มา : http://www.mississippi-crops.com/2013/06/01/soybean-fungicide-management-considerations-for-2013/

 มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น

  • กลุ่มกลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram)  เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย
  •     กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb)    ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
  • กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
  • กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ
  • กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)

ที่มา : http://www.domyownpestcontrol.com/rats-c-21_217.html?page=all


สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น  วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ
ทางผิวหนัง สารเคมีกําจัดศัตรูพืชจะเขาสูรางกายผานทางผิวหนังโดยตรง เชน ก่อนฉีดพ่น สัมผัสได้จากการผสมสารโดยไม่ใช้ถุงมือ ขณะฉีดพ่นสัมผัสจากการถูกละอองสารและเสื้อผาที่เปยกชุมดวยสารเคมีกําจัดศัตรูพืช หลังฉีดพ่นสามารถสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีสารปนเปื้อนอยู่โดยไม่ใส่ถุงมือ เป็นต้น
ทางการหายใจ เกษตรกรที่ฉีดพนสารเคมีกําจัดศัตรูพืช หรือผูคนที่อยูใกลกับพื้นที่ฉีดพนจะไดรับสารเคมีกําจัดศัตรูพืชผานทางการหายใจได
ทางปาก เกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เช่น การใช้มือที่ปนเปื้อนสารเคมีหยิบจับอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไป เป็นต้น หรือ การกิน ดื่มโดยเจตนา

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

พิษเฉียบพลัน (Acute toxicity) ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงในทันทีหลังจากที่มีการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า แสบตา เป็นต้น
พิษเรื้อรัง (Chronic Toxicity) เกิดจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเวลานานและเกิดพิษสะสมจนก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาต่อสุขภาพ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด การสูญเสียการได้ยิน การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ ไม่ถูกต้องปลอดภัยทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังอาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่นมะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต  (Organophosphate Insecticides) มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุดการทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริวที่กล้ามเนื้อ  ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก 
สารคาร์บาเมต  (carbamates) สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต  แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสารออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย 
สารออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine)  สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง  พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ 
สารไพรีทรอยด์ (Pyrethroides) เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง  ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก  หนังตากระตุก เดินโซเซ 
สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท (Paraquat) ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว 
สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ (Zinc Phosphide) มีความเป็นพิษมากเมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้แก๊สพิษฟอสฟีน (phosphine) ทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง 
สารไธโอคาร์บาเมต (Thiocarbamates) เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ ตาพบอาการเคืองตา  ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง 

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัดศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย
  1. อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
  2. บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
  3. คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
  4. ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
  5. อีพีเอ็น (EPN)
  6. อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
  7. โฟมีทาเนต (Formethanate)
  8. เมทิดาไธออน (Methidathion)
  9. เมโทมิล (Methomyl)
  10. อ๊อกซามิล (Oxamyl)
  11. เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
  12. พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)

อาหารที่มักตรวจพบมีสารเคมีตกค้าง

ผักสด ผลไม้สด ปลาแห้ง เป็นต้น

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  • เลือกซื้อผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง
  • เลือกบริโภคผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือ ผักพื้นบ้าน
  • เลือกบริโภคผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า
  • ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
  • ผักและผลไม้ที่ปลอกเปลือกได้ ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนปอกเปลือก
  • เลือกซื้อผักผลไม้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น แหล่งผลิตที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง เป็นต้น

ที่มาข้อมูล :
  • สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.(ม.ป.ป.).สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ.สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม,2559,จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/405
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.(ม.ป.ป.).สารปนเปื้อนในอาหารสืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม,2559,จาก http://webnotes.fda.moph.go.th/consumer/csmb/csmb2546.nsf/aa98b95101fdb3f680256759002b9119/f7b38cf86269a20bc7256dc0000beacd?OpenDocument

1 ความคิดเห็น: